หมวดที่ ๑ การกำหนดนโยบาย การวางแผนการดำเนินงานและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
|
|
ตัวชี้วัด | หลักฐานการตรวจประเมิน |
1.1 การกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อม
|
|
1.1.1 มีบริบทองค์กรและขอบเขตของการจัดการสิ่งแวดล้อมในสำนักงาน
|
1.1.1 บริบทองค์กรและขอบเขตของการจัดการสิ่งแวดล้อมในสำนักงาน
- อาคารสำนักงาน 14,282 ตารางเมตร - อาคารศูนย์ปฏิบัติการฯ 2,053 ตารางเมตร - อาคารท้องฟ้าจำลองและนิทรรศการ 9,149 ตารางเมตร - อาคารหอดูดาว 556.92 ตารางเมตร อยู่ระหว่างก่อสร้าง 2 อาคาร ดังนี้ - อาคารพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูง - อาคารเทคนิควิศวกรรมและพัฒนาต้นแบบ พื้นที่ในสถาบันที่เข้ารับการประเมิน
ขนาด 86,426.63 ตารางเมตร |
1.1.2 นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องและครอบคลุมประเด็นตามเกณฑ์สำนักงานสีเขียว โดยแสดงความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่อง ดังนี้ (1) การปรับปรุงระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง (2) การควบคุม ป้องกัน ลดผลกระทบด้านการใช้ทรัพยากร พลังงาน และมลพิษ/ของเสีย รวมไปถึงการจัดซื้อ จัดจ้าง และบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (3) การปฏิบัติตามกฎหมายและเกณฑ์การเป็นสำนักงานสีเขียวของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (4) การสร้างความรู้และความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมกับผู้เกี่ยวข้อง |
ประกาศสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
เรื่อง นโยบาย NARIT GO GREEN |
1.1.3การกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อมจากผู้บริหารระดับสูง (1) นโยบายสิ่งแวดล้อมจะต้องได้รับการอนุมัติจากผู้บริหารสูงสุด หรือได้รับมอบอำนาจ (2) มีการระบุวันที่การประกาศใช้นโยบายสิ่งแวดล้อมอย่างชัดเจน (3) ผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจจะต้องสามารถอธิบายถึงวัตถุประสงค์และจุดมุ่งหมายด้านสิ่งแวดล้อมของสำนักงาน (4) ผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจจะต้องมีส่วนในการติดตามผลการปฏิบัติตามนโยบายสิ่งแวดล้อมของสำนักงาน |
1.1.3 การกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อมจากผู้บริหารระดับสูง |
1.1.4 มีการกำหนดแผนงานสำนักงานสีเขียวประจำปี (1) รายละเอียดของแผนจะต้องระบุการดำเนินงานครบถ้วนทุกหมวด (2) มีการกำหนดเวลาหรือความถี่ของการดำเนินการของแต่ละหมวด (3) มีการกำหนดแผนการดำเนินการเป็นลายลักษณ์อักษร และได้รับการอนุมัติจากผู้บริหาร |
1.1.4 แผนงาน สดร.สีเขียว NARIT GO GREEN |
1.1.5 มีการกำหนดเป้าหมาย และตัวชี้วัดที่ชัดเจนด้านการใช้ทรัพยากร พลังงาน และของเสีย และปริมาณก๊าซเรือนกระจก ดังนี้ |
1.1.5 การกำหนดนโยบายและตัวชี้วัดการใช้ทรัพยากร |
1.2 คณะทำงานด้านสิ่งแวดล้อม
|
|
1.2.1 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการหรือทีมงานด้านสิ่งแวดล้อม โดยมีแนวทางดำเนินงาน ดังนี้ (1) ผู้บริหารแต่งตั้งคณะกรรมการหรือทีมงานด้านสิ่งแวดล้อมของสำนักงานอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และลงนามอนุมัติ โดยคณะกรรมการหรือทีมงานจะต้องครบคลุมทุกหมวด และบุคลากร/ผู้แทนจากทุกฝ่ายในหน่วยงาน (2) กำหนดอำนาจ บทบาทและหน้าที่รับผิดชอบของคณะกรรมการอย่างชัดเจน |
1.2.1 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการหรือทีมงานด้านสิ่งแวดล้อม - ประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการสำนักงานสีเขียว - info คณะทำงานสำนักงานสีเขียว |
1.2.2 ร้อยละของคณะกรรมการ หรือทีมงานด้านสิ่งแวดล้อมที่มีความเข้าใจในบทบาทและหน้าที่รับผิดชอบประเมินจากการสุ่มสอบถาม ดังนี้ (1) ประธาน/หัวหน้า (2) คณะกรรมการหรือทีมงานทางด้านสิ่งแวดล้อมที่รับผิดชอบทุกหมวด (สามารถมอบหมายให้ผู้ตรวจสอบประเมินแต่ละหมวดสุ่มสอบถามได้) |
หมายเหตุ จากการสัมภาษณ์ |
1.3 การระบุประเด็นปัญหาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
|
|
1.3.1 กิจกรรมทั้งหมดของสำนักงานภายใต้ขอบเขตการขอการรับรองสำนักงานสีเขียวจะต้องได้รับการระบุและประเมินปัญหาสิ่งแวดล้อม (1) มีการรวบรวมกิจกรรมของสำนักงาน (2) มีการกำหนดผู้รับผิดชอบเหมาะสมและมีความเข้าใจ (3) ระบุการใช้พลังงาน ทรัพยากร วัตถุดิบ (4) ระบุปัญหาสิ่งแวดล้อมทางตรงและทางอ้อมครบถ้วน (5) ระบุปัญหาสิ่งแวดล้อมสภาวะปกติ ผิดปกติ และฉุกเฉินครบถ้วน (6) มีการพิจารณากฎหมายสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสิ่งแวดล้อมนั้น ๆ อย่างครบถ้วนและถูกต้อง (7) การประเมินเพื่อจัดลำดับความสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อม (8) มีหลักฐานการกำหนดระยะเวลาในการทบทวนการระบุประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อม การใช้ทรัพยากรและพลังงาน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง (9) กรณีมีการปรับแผน/กิจกรรม หรือมีกิจกรรมเพิ่มเติม (เช่น มีแผนที่จะก่อสร้างอาคารหรือเพิ่มเติมกิจกรรมของสำนักงานในอนาคตอันใกล้ เป็นต้น) จะต้องระบุกิจกรรมดังกล่าวด้วย (ถ้ามี) |
1.3.1 กิจกรรมทั้งหมดของสถาบันภายใต้ขอบเขตการขอการรับรองสำนักงานสีเขียว (1) ตารางวิเคราะห์กระบวนการทำงาน (2)-(7) ตารางวิเคราะห์กระบวนการทำงาน Input ตารางวิเคราะห์กระบวนการทำงาน Output (8) แผนทบทวนการระบุประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อม การใช้ทรัพยากรและพลังงาน - รายงานการประชุม |
1.3.2 การวิเคราะห์และแนวทางการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ (1) มีการสรุปรายการปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ (2) กำหนดมาตรการ คู่มือ หรือแนวทางปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ (3) ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญมีการดำเนินการตามมาตรการ คู่มือ หรือแนวทางแก้ไขครบถ้วน (4) กำหนดมาตรการ คู่มือ หรือแนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดในสภาวะผิดปกติและสภาวะฉุกเฉิน (5) ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดในสภาวะผิดปกติและสภาวะฉุกเฉินมีการดำเนินการตามมาตรการ คู่มือ หรือแนวทางการป้องกันครบถ้วน |
1.3.2 การวิเคราะห์และแนวทางการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม (1) ทะเบียนจัดลำดับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญด้านทรัพยากร (Input-Output) (2) แนวทางปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม - ประกาศสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) เรื่อง มาตรการประหยัดพลังงาน ลงวันที่ 4 ตุลาคม 2565 - ประกาศเรื่อง มาตรการประหยัดพลังงาน (3) ข้อปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบการร้านอาหาร (4)-(5) มาตรการ คู่มือ หรือแนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดในสภาวะผิดปกติและสภาวะฉุกเฉิน - แผนป้องกันและระงับอัคคีภัย |
1.4 กฎหมายและข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
|
|
1.4.1 มีการรวบรวมกฎหมายสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับสำนักงาน โดยมีแนวทางการดำเนินงานดังนี้ (1) ผู้รับผิดชอบมีความเข้าใจในการรวบรววมกฎหมายสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง (2) จัดทำรายการกฎหมายที่ครอบคลุมปัญหาสิ่งแวดล้อมและบริบทของสำนักงาน (3) สามารถระบุแหล่งที่มาของกฎหมายและข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้องได้ (4) สามารถระบุความเกี่ยวข้องของกฎหมายกับประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ (5) กฎหมายสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องจะต้องเป็นปัจจุบัน (6) มีการรวบรวมและทบทวนกฎหมายอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หมายเหตุ สำนักงานจะต้องค้นหากฎหมายท้องถิ่นเพิ่มเติม |
1.4.1 การรวบรวมกฎหมายสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย คณะทำงานสนับสนุนการดำเนินงานโครงการสำนักงานสีเขียวหมวด ที่ 1 ได้ดำเนินการรวบรวมกฎหมายสิ่งแวดล้อม มาใช้ในการควบคุมปัญหาสิ่งแวดล้อม และจัดทำมาตราการประหยัดพลังงาน รวมถึงข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมภายในสถาบัน ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2565 เป็นต้นมา และได้มีการทบทวนกฎหมาย ระเบียบ ประกาศเกี่ยวกับเสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2566 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว (4) กฎหมายสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง - ทะเบียนกฎหมายและข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง |
1.4.2 ประเมินความสอดคล้องของกฎหมายกับการดำเนินงานการจัดการสิ่งแวดล้อมของสำนักงานโดยมีการดำเนินการดังนี้ (1) ผู้รับผิดชอบมีความเข้าใจในการประเมินความสอดคล้องของกฎหมายกับการดำเนินงานการจัดการสิ่งแวดล้อม (2) มีการประเมินความสอดคล้องกับกฎหมายอย่างครบถ้วนและถูกต้อง (3) มีการอ้างอิงหลักฐานการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างครบถ้วนและถูกต้อง กรณีที่พบว่ามีการดำเนินงานไม่สอดคล้องกับกฎหมายจะต้องมีการวิเคราะห์สาเหตุ และกำหนดแนวทางการแก้ไข (ถ้ามี) (4) มีการกำหนดความถี่ในการประเมินความสอดคล้องของกฎหมายอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง ที่เหมาะสมและมีการปฏิบัตตามที่กำหนดได้ |
1.4.2 ประเมินความสอดคล้องของกฎหมายกับการดำเนินงานการจัดการสิ่งแวดล้อมของสำนักงานโดยมีการดำเนินการดังนี้ (1) สถาบันได้จัดให้มีการประเมินความสอดคล้องของกฎหมายโดยนิติกรของสถาบัน (2) (4) มีการประเมินความสอดคล้องกับกฎหมายอย่างครบถ้วนและถูกต้อง โดยมีการทบทวนอย่างน้อย 1 ครั้ง/ปี - ทะเบียนกฎหมายและข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง (3) หลักฐานการปฏิบัติตามกฎหมาย |
1.5 ข้อมูลก๊าซเรือนกระจก
|
|
1.5.1 การเก็บข้อมูลก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมในสำนักงาน จะต้องประกอบไปด้วย (1) ปริมาณการใช้ไฟฟ้า (2) ปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับการเดินทาง (3) ปริมาณการใช้น้ำ (4) ปริมาณการใช้กระดาษ (5) ปริมาณการเกิดของเสีย (โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emission Factor;EF) ขององค์การบริหารก๊าซเรือนกระจกล่าสุด |
1.5.1 การเก็บข้อมูลก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมในสำนักงาน สรุปการคำนวณก๊าซเรือนกระจกเดือน มกราคม-ธันวาคม ประจำปี ดังนี้ - ประจำปี 2565 - ประจำปี 2566 ในปี 2565 จะประกอบด้วยปริมาณการใช้ทรัพยากร ดังนี้ (1) สรุปผลปริมาณการใช้ไฟฟ้า (2) สรุปผลปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง (3)สรุปผลปริมาณการใช้น้ำประปา (4) สรุปผลปริมาณการใช้กระดาษ (5)สรุปผลปริมาณก๊าซเรือนกระจก ในปี 2566 จะประกอบด้วยปริมาณการใช้ทรัพยากร ดังนี้ (1) สรุปผลปริมาณการใช้ไฟฟ้า (2) สรุปผลปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง (3)สรุปผลปริมาณการใช้น้ำประปา (4) สรุปผลปริมาณการใช้กระดาษ (5)สรุปผลปริมาณก๊าซเรือนกระจก ในปี 2567 จะประกอบด้วยปริมาณการใช้ทรัพยากร ดังนี้ (1) สรุปผลปริมาณการใช้ไฟฟ้า (2) สรุปผลปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง (3)สรุปผลปริมาณการใช้น้ำประปา (4) สรุปผลปริมาณการใช้กระดาษ (5)สรุปผลปริมาณก๊าซเรือนกระจก |
1.5.2 ปริมาณก๊าซเรือนกระจกบรรลุเป้าหมาย กรณีบรรลุเป้าหมาย (1) สรุปสาเหตุที่นำไปสู่การบรรลุ เพื่อการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง กรณีไม่บรรลุเป้าหมาย (1) มีการวิเคราะห์สาเหตุในกรณีที่ไม่บรรลุเป้าหมาย (2) มีแนวทางการแก้ไขในกรณีที่ไม่บรรลุ (3) มีการติดตามผลหลังแก้ไข |
1.5.2 การวิเคราะห์ปริมาณก๊าซเรือนกระจก |
1.5.3 ร้อยละของพนักงานมีความเข้าใจและรับรู้ปริมาณก๊าซเรือนกระจกของสำนักงาน โดยจะต้องสอบถามดังนี้ (1) ความสำคัญของก๊าซเรือนกระจกกับการทำสำนักงานสีเขียว (2) แนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (3) ปริมาณก๊าซเรือนกระจกของสำนักงานเมื่อเปรียบเทียบกับค่าเป้าหมาย หมายเหตุ 1. พนักงานที่ถูกสอบถามจะต้องอธิบายให้ได้ทั้ง 3 ข้อ 2. สอบถามพนักงาน 4 คนขึ้นไป |
หมายเหตุ จากการสัมภาษณ์ |
1.6 แผนงานโครงการที่นำไปสู่การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
|
|
1.6.1 การกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และโครงการสิ่งแวดล้อม จะต้องมีการดำเนินการดังนี้ (1) วัตถุประสงค์ เป้าหมาย จะต้องสอดคล้องกับนโยบายสิ่งแวดล้อม หรือปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ หรือกฎหมายสิ่งแวดล้อม (2) วัตถุประสงค์ เป้าหมาย สามารถวัดผลได้ (3) กิจกรรม/นวัตกรรมที่กำนดในโครงการสิ่งแวดล้อมมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเป้าหมาย (4) ระยะเวลาการทำโครงการมีความเหมาะสม (5) โครงการมีการกำหนดผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจนและจะต้องมีความเข้าใจ |
1.6.1 โครงการที่สถาบันได้ดำเนินการเพื่อให้เกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง มีดังนี้ - โครงการสร้างความตระหนักและส่งเสริมให้เกิดความตื่นตัวทางด้านสุขภาพ ความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน GPS และการประหยัดเชื้อเพลิง - โครงการสร้างความตระหนักและส่งเสริมให้เกิดความตื่นตัวทางด้านสุขภาพ ความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ขยะกำพร้า สู่ ขยะสร้างบุญ |
1.6.2 ผลสำเร็จของวัตถุประสงค์และเป้าหมาย แนวทางการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน (1) มีแผนการดำเนินโครงการหรือนวัตกรรมที่ชัดเจน (2) ดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้อย่างต่อเนื่อง (3) มีการกำหนดความถี่ในการติดตามผลและปฏิบัติตามอย่างต่อเนื่อง (4) มีการติดตามความก้าวหน้าของโครงการ (5) ดำเนินการเสร็จสิ้นและบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด/กรณีที่ไม่บรรลุเป้าหมายมีการทบทวนเพื่อหาสาเหตุและแนวทางแก้ไข (6) มีการกำหนดแนวทางเพื่อให้เกิดตามต่อเนื่องและยั่งยืนหลังบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนด |
|
1.7 การตรวจประเมินสำนักงานสีเขียวภายในสำนักงาน (สำหรับหน่วยงานต่ออายุ)
|
|
1.8 การทบทวนฝ่ายบริหาร |
|
1.8.1 การกำหนดองค์ประชุมทบทวนฝ่ายบริหาร (1) มีผู้บริหารเข้าร่วมประชุม (2) มีตัวแทนของแต่ละฝ่าย/แผนก/ส่วนงานที่มีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานในแต่ละหมวดเข้าร่วมประชุม (3) จำนวนผู้เข้าร่วมการประชุมจะต้องมากกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนผู้ที่เป็นคณะกรรมการสำนักงานสีเขียว พร้อมหลักฐานการลงนามเข้าร่วมประชุม (4) หากผู้ที่จะต้องเข้าประชุมไม่สามารถเข้าร่วมได้จะต้องมีวิธีการรายงานผลการประชุมให้รับทราบ พร้อมรับข้อเสนอแนะ |
1.8.1 การประชุมทบทวนฝ่ายบริหาร - รายชื่อผู้เข้าร่วมประชุมทบทวนโดยฝ่ายบริหารโครงการสำนักงานสีเขียว - วาระการประชุมทบทวนโดยฝ่ายบริหารโครงการสำนักงานสีเขียว - ตัวอย่างหนังสือเชิญประชุมทบทวนโดยฝ่ายบริหารโครงการสำนักงานสีเขียว - หลักฐานการแจ้งเวียนรายงานการประชุมทบทวนฝ่ายบริหารโครรงการสำนักงานสีเขียว |
1.8.2 มีการกำหนดวาระการประชุม และทำการประชุมทบทวนฝ่ายบริหารดังนี้ (1) มีการประชุมทบทวนฝ่ายบริหารอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง (2) วาระที่ 1 การติดตามผลการดำเนินงานปรับปรุงระบบฯที่ผ่านมา (3) วาระที่ 2 นโยบายสิ่งแวดล้อม (4) วาระที่ 3 ความมีประสิทธิภาพของคณะกรรมการหรือทีมงานด้านสิ่งแวดล้อม (ความเพียงพอและความเหมาะสม) (5) วาระที่ 4 การติดตามผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม การสื่อสารและข้อคิดเห็นด้านสิ่งแวดล้อม การปฏิบัติตามกฎหมาย รวมถึงแนวทางการแก้ไขปรับปรุงและพัฒนา (6) วาระที่ 6 การเปลี่ยนแปลงที่จะส่งผลกระทบต่อความสำเร็จในการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม (7) วาระที่ 7 ข้อเสนอแนะจากที่ประชุม และวิสัยทัศน์ แนวคิดของผู้บริหารของการดำเนินงานสำนักงานสีเขียวอย่างต่อเนื่อง (8) จัดทำรายงานการประชุมทบทวนฝ่ายบริหารและภาพถ่ายที่แสดงให้เห็นว่ามีการประชุมจริง |
1.8.2 การกำหนดวาระการประชุม และทำการประชุมทบทวนฝ่ายบริหาร (1) แผนประชุมทบทวนโดยฝ่ายบริหาร - สรุป-ติดตามความคืบหน้า การประชุมทบทวนฝ่ายบริหาร โครงการสำนักงานสีเขียว - รายงานการประชุม ครั้งที่ 1/2566 วันที่ มกราคม 2566 - รายงานการประชุม ครั้งที่ 2/2566 วันที่ (8) รายงานการประชุม ครั้งที่ 3/2566 ทบทวนฝ่ายบริหาร Green Office วันที่ |