หมวดที่ 2

 การสื่อสารและสร้างจิตสำนึก

หมวดที่ 2 การสื่อสารและสร้างจิตสำนึก


ตัวชี้วัด

 หลักฐานการตรวจประเมิน

2.1 การอบรมให้ความรู้และประเมินความเข้าใจ


2.1.1 กำหนดแผนการฝึกอบรม ดำเนินการอบรม การประเมินผล และบันทึกประวัติการฝึกอบรม
(1) ระบุหลักสูตรและความถี่การอบรมลงในแผนการฝึกอบรม โดยหลักสูตรมีรายละเอียดอย่างน้อย ดังนี้
- ความสำคัญของสำนักงานสีเขียว
- การใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
- การจัดการมลพิษและของเสีย
- การจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- ก๊าซเรือนกระจก
(2) ดำเนินการฝึกอบรมตามแผนการฝึกอบรมในข้อ (1) โดยผู้รับการอบรมจะต้องมากกว่าร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายในแต่ละหลักสูตร
(3) ประเมินผลการฝึกอบรม เช่น ข้อสอบประเมินขณะปฏิบัติงาน เป็นต้น
(4) จัดทำประวัติการอบรมของบุคลากร

2.1.1 (1) สถาบันได้กำหนดแผนการฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม ประจำปี โดยมีหลักสูตร ดังนี้
- ความสำคัญของสำนักงานสีเขียว
- การใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
- การจัดการมลพิษและของเสีย
- การจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- ก๊าซเรือนกระจก
 แผนการฝึกอบรม
(2) - (3) สถาบันได้ดำเนินการฝึกอบรมตามหัวข้อ 2.1.1 (1) และจัดทำรายงานการฝึกอบรม ดังนี้
- ความสำคัญของสำนักงานสีเขียว

- ประวัติวิทยากรที่อบรมให้กับบุคคลากร
(4) ประวัติการอบรมของบุคลากร

2.1.2 กำหนดผู้รับผิดชอบด้านการอบรมแต่ละหลักสูตรมีความเหมาะสม
(1) ผู้รับผิดชอบในการอบรมจะต้องเข้าใจเนื้อหาในการอบรม
(2) ผู้รับผิดชอบในการอบรมจะต้องมีหลักฐานแสดงความสามารถ เช่น ใบรับรองจากหน่วยงานภายนอก ประวัติ ประสบการณ์

2.1.2(1)(2) สถาบันได้กำหนดให้เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยและอาชีวอนามัย เป็นผู้ร่างโครงการฝึกอบรม และเสนอผู้บังคับบัญชาเพื่ออนุมัติโครงการ โดยได้มีการศึกษาและจัดทำทำขอบเขตเนื้อหาและวัตถุประสงค์ให้ครบถ้วน
- ตัวอย่างโครงการฝึกอบรมที่มีชื่อผู้รับผิดชอบ

2.2 การรณรงค์และประชาสัมพันธ์แก่พนักงาน 


2.2.1 มีการกำหนดผู้รับผิดชอบและแนวทางสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกสำนักงาน
 (1) กำหนดหัวข้อและความถี่การสื่อสารอย่างน้อย ดังนี้
หัวข้อความถี่
1. นโยบายสิ่งแวดล้อมทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง
2. ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญและการจัดการทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง
3. การปฏิบัติตามกฎหมายทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง
4. ความสะอาดและความเป็นระเบียบ (5ส.)ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง
5. เป้าหมายและมาตรการพลังงาน-ทรัพยากร (ได้แก่ น้ำ ไฟฟ้า น้ำมันเชื้อเพลิง ก๊าซหุงต้ม กระดาษ และอื่นๆ)ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง
6. เป้าหมายและมาตรการจัดการของเสียทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง
7. ผลการใช้ทรัพยากร พลังงาน และของเสียทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง
8.สินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง
9. ก๊าซเรือนกระจกทุกเดือน
(2) กำหนดช่องทางการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพกับหัวข้อการสื่อสารและองค์กร (ไม่จำกัดจำนวนช่องทาง)
(3) กำหนดกลุ่มเป้าหมายรับเรื่องสื่อสาร (ผู้ที่เกี่ยวข้องที่อยู่ภายในและภายนอกสำนักงาน)
(4) กำหนดผู้รับผิดชอบในการสื่อสาร
 
2.2.1 (1)-(4) สถาบันกำหนดแผนการรณรงค์และประชาสัมพันธ์แก่บุคลากร ดังนี้
- แผนการรณรงค์และประชาสัมพันธ์
- ตัวอย่างการรณรงค์สื่อสารและให้ความรู้ตามแผนที่กำหนด
2.2.2 มีการรณรงค์สื่อสารและให้ความรู้ตามที่กำหนดในข้อ2.2.1
2.2.2 สถาบันได้มีการรณรงค์สื่อสารและให้ความรู้ตามแผนที่กำหนด ตามเอกสารแนบ
- แผนการสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2566
- การปฏิบัติตามแผนการรณรงค์และประชาสัมพันธ์
- แผนการสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2567
- การปฏิบัติตามแผนการรณรงค์และประชาสัมพันธ์
2.2.4 มีช่องทางรับข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็นด้านสิ่งแวดล้อม และนำมาปรับปรุงแก้ไขโดยต้องมีแนวทาง ดังนี้
(1) มีช่องทางเพื่อรับข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็นด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ไลน์ QR Code การประชุมเว็บไซต์
(2) มีผู้รับผิดชอบในการรับข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็น
(3) มีการแสดงข้อเสนอแนะด้านสิ่งแวดล้อมและการจัดการ
(4) มีการรายงานข้อเสนอแนะและการจัดการแก่ผู้บริหาร(บรรยายให้เหมาะสม)
2.2.4 สถาบันได้จัดให้มีช่องทางรับข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็นด้านสิ่งแวดล้อม ดังนี้
(1) มีช่องทางเพื่อรับข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็นด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ Line OA , Line group , I-support ใน MIS
(2) สถาบันโดยงานอาคารสถานที่เป็นผู้รับผิดชอบในการรับข้อเสนอเเนะและข้อคิดเห็นด้านสิ่งเเวดล้อม
(3) บุคลากรสถาบันได้มีการแสดงข้อเสนอแนะด้านสิ่งแวดล้อมและได้รับการจัดการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(4) มีการรายงานข้อเสนอแนะและการจัดการแก่ผู้บริหารผ่านการประชุมผู้บริหารและการประชุมคณะกรรมการความปลอดภัยฯ
- เอกสารประกอบเรื่องการรับข้อเสนอแนะและการรายงานข้อเสนอแนะ