หมวดที่ 4 

 การจัดการของเสีย 

หมวดที่ 4 การจัดการของเสีย​


ตัวชี้วัด

 หลักฐานการตรวจประเมิน

4.1  การจัดการของเสีย​


4.1.1 มีการดำเนินงานตามแนวทางการคัดแยก รวบรวมและการจัดการขยะอย่างเหมาะสม
มีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้
(1) มีการคัดแยกขยะตามประเภทขยะที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมภายในสำนักงานและจัดวางถังขยะตามพื้นที่ทำงานต่างๆ อย่างเหมาะสมทุกจุดที่สุ่มตรวจสอบ
(2) มีการติดป้ายบ่งชี้ประเภทขยะอย่างถูกต้องและชัดเจนทุกถังที่สุ่มตรวจสอบ
(3) มีจุดพักขยะที่เหมาะสมตามหลักวิชาการ โดยจะต้องมีพื้นที่รองรับขยะแต่ละประเภทจากข้อ (1) อย่างเพียงพอ
(4) มีการทิ้งขยะถูกต้องทุกจุดที่สุ่มตรวจสอบ
(5) มีการส่งขยะให้ อปท. หรือผู้รับจ้างที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย
(6) มีการติดตาม ตรวจสอบการกำจัดขยะของผู้รับจ้างให้มีการจัดการอย่างเหมาะสมตามหลักวิชาการ (กรณีส่งให้ อปท.ให้ถือว่ามีการจัดการอย่างเหมาะสม)
(7) ไม่มีการเผาขยะในบริเวณหรือพื้นที่ของสำนักงาน (ยกเว้นเตาเผาที่ได้รับการอนุญาตอย่างถูกต้อง)

4.1.1 สถาบันมีการดำเนินงานตามแนวทางการคัดแยก รวบรวมและจัดการขยะอย่างเหมาะสม ดังนี้
(1)-(2) สถาบันได้จัดให้มีจุดทิ้งขยะโดยมีถังขยะแยกประเภทที่ระบุประเภทของถังขยะชัดเจน คลอบคลุมทุกอาคารของสถาบัน และมีการจัดให้มีจุดทิ้งขยะบริเวณสวนหย่อมให้แก่ผู้ที่มาใช้บริการสถาบันด้วย
(3) สถาบันจัดให้มีโรงพักขยะที่อยู่ห่างไกลจากพื้นที่ทำงาน และมีการระบายอากาศที่เหมาะสม เพื่อที่จะไม่ส่งกลิ่นรบกวนและทำลายทัศนียภาพ
(4) สถาบันจัดให้มีการสุ่มตรวจถังขยะโดยพนักงานรักษาความสะอาด และเเจ้งต่องานอาคารสถานที่เมื่อพบการทิ้งขยะผิดประเภท
(5)สถาบันได้มีการส่งขยะให้ผู้รับจ้าง บริษัท เชียงใหม่เมืองสะอาด ที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย
(6) สถาบันได้มีการติดตาม ตรวจสอบการจัดการขยะของบริษัท เชียงใหม่เมืองสะอาด ว่ามีการจัดการขยะอย่างถูกต้อง เหมาะสมตามหลักวิชาการ
(7) เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของสถาบันเป็นผู้ตรวจสอบ สำรวจพื้นที่โดยรอบของสถาบันโดยไม่พบการเผาขยะในบริเวณหรือพื้นที่ของสถาบัน
- การดำเนินงานตามแนวทางการคัดแยก รวบรวมและการจัดการขยะอย่างเหมาะสม

4.1.2 การนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์หรือนำกลับมาใช้ใหม่ส่งผลให้ขยะที่จะส่งไปกำจัดมีปริมาณน้อยลง
(1) มีการนำขยะกลับมาใช้ใหม่
(2) มีการบันทึกข้อมูลปริมาณขยะแต่ละประเภทครบถ้วนทุกเดือน
(3) มีการวิเคราะห์ปริมาณขยะเทียบค่าเป้าหมายที่ได้กำหนด จากหมวด 1 ข้อ 1.1.5
(4) ปริมาณขยะที่ส่งกำจัดมีแนวโน้มลดลง

4.1.2 สถาบันมีการรณรงค์ให้นำขยะที่จะถูกกำจัดโดยวิธีการฝังกลับ ดังนี้
(1) การจัดให้มีโครงการ ขยะสร้างบุญ ซึ่งจะนำขยะที่เป็นพลาสติกกำพร้า  ไปบริจาคกับโครงการกรีนโรด ซึ่งจะนำขยะไปรีไซเคิลเป็นเก้าอี้ บล็อคปูถนน เป็นต้น
(1) นำเศษอาหารไปผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพ เพื่อใช้ในการดูแลต้นไม้ของสถาบัน
(2) มีการบันทึกข้อมูลปริมาณขยะแต่ละประเภทครบถ้วนทุกเดือน

-  การนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์หรือนำกลับมาใช้ใหม่

- การบันทึกข้อมูลปริมาณขยะแต่ละประเภท

4.2 การจัดการน้ำเสีย


4.2.1 การจัดการน้ำเสียของสำนักงาน และคุณภาพน้ำทิ้ง จะต้องอยู่ในมาตรฐานกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
โดยมีแนวทาง ดังนี้
(1) การกำหนดผู้รับผิดชอบดูแลการจัดการน้ำเสีย และจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในการดูแล
(2) มีการบำบัดน้ำเสียอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ เช่น มีตะแกรงดักเศษ อาหาร มีบ่อดักไขมัน หรือมีระบบบำบัดน้ำเสียเหมาะสมกับองค์ประกอบของน้ำเสีย
(3) มีการบำบัดน้ำเสียครบทุกจุดที่ปล่อยน้ำเสีย
(4) มีผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำทิ้งที่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด
4.2.1 สถาบันได้มีการจัดการน้ำเสียของสำนักงาน และคุณภาพน้ำทิ้ง โดยมีงานอาคารสถานที่เป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารจัดการ มีการบำบัดน้ำเสียโดยเป็นระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ โดยมีการบำบัดทั้ง 7 จุด ก่อนที่จะปล่อยน้ำเสียออก และมีแผนที่จะทำการตรวจสอบคุณภาพน้ำทิ้งในเดือนกุมภาพันธ์ 2566
- การจัดการน้ำเสียของสำนักงาน และคุณภาพน้ำทิ้ง
4.2.2 การดูแลอุปกรณ์บำบัดน้ำเสีย โดยมีแนวทาง ดังนี้
(1) มีการดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย หรือมีการตักและทำความสะอาดเศษอาหารและไขมันออกจากตะแกรงดักขยะ หรือบ่อดักไขมันตามความถี่ที่กำหนดอย่างเหมาะสมกับปริมาณและการปนเปื้อน
(2) มีการนำกากตะกอนจากระบบบำบัดน้ำเสียหรือเศษอาหาร น้ำมันและไขมันจากถัง/บ่อดักไขมันไปกำจัดอย่างถูกต้อง
(3) มีการตรวจสอบ ปรับปรุง ซ่อมแซมระบบบำบัดน้ำเสียให้สามารถใช้งานและมีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
(4) มีการตรวจสอบการรั่วไหลของน้ำเสียอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของน้ำเสียไปยังแหล่งอื่นๆ
4.2.2 สถาบันโดยงานอาคารสถานที่มีการดูแลอุปกรณ์บำบัดน้ำเสีย โดยมีการตรวจสอบ ปรับปรุง ซ่อมแซมระบบบำบัดน้ำเสียให้สามารถใช้งานและมีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
-การปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสียของสถาบัน